ชุมชนบ้านดอกบัว : อุทยานแห่งความพอเพียง

ชุมชนบ้านดอกบัว : อุทยานแห่งความพอเพียง
รางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ประเภท ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ชนะเลิศระดับประเทศ

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านบัว (ดอกบัว) หมู่ที่ ๔ ตําบลบ้านตุ่น อําเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เดิมแรก บ้านดอกบัว เป็นป่า โดยมีปู่ติ๊บ กับย่าสมนา สองผัวเมีย และมีบ้านปู่อีกคนไม่ทราบชื่อ โดยเริ่มแรกมีบ้านอยู่ ๒ หลังเท่านั้นปู่ติ๊บ กับ ย่าสมมา เดิมเปนคนบ้านตุ่นกลาง ประกอบอาชีพทําไร่ทําสวน เลี้ยงสัตว์ เห็นพื้นที่ป่า แหล่งน้ำมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการประกอบอาชีพ จึงย้ายเข้ามาอยู่เป็นคนแรก โดยมีปู่บัว ติดตามมาอยู่ด้วย จนตอนเช้าของวันหนึ่ง ปู่บัว เปนคนเคี้ยวหมาก ได้ลงไปเก็บใบพลูมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดมาก่อน คือ เสือได้ตระครุบและ กัดปู่บัวตาย ณ ที่นั้น ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า บ้านบัว(ดอกบัว) มาจนทุกวันนี้ปัจจุบันบ้านบัว (ดอกบัว) มีประชากร ๗๖๓ คน จํานวน ๒๑๕ ครัวเรือน แยกเป็นชาย ๓๗๙ คน หญิง๓๘๔ คน


วัตถุประสงค์ของหมู่บ้าน
ประชากรบ้านบัว (ดอกบัว) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม เช่น ทํานา ทําสวน ปลูกหญ้า เลี่ยงสัตว์และ ได้มีอาชีพเสริมนอกฤดูกาลทํานา คือ การทําหัตถกรรมจักสานเข่งไม้ไผ่ สุ่มไก่ ออกจําหน่ายเมื่อทํากันมากขึ้น ทําให้ขายไม่ได้มากเท่าที่ควร ด้วยจุดนี้เองคนในชุมชนจึงได้หันมาร่วมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอันกับแรกคือกลุ่มจักสานขึ้น โดยผู้นําหมู่บ้านเป็นแกนนําในการจัดตั้ง ทั้งนี้มีการร่วมกันศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ สังคมและ ทรัพยากรของชุมชนด้วยเหตุผล และ ความรู้ ความเข้าใจแล้วจึงตัดสินใจนําไปใช้ในการทําแผนพัฒนาชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดอกบัว เป็นการอยู่รวมกันของชุมชนล้านนา ส่วนใหญ่จะดําเนินวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและอยู่กันแบบระบบเครือญาติมีวัฒนธรรมการเคารพผู้อาวุโสกว่าเป็นเป็นผู้นำเพราะมีความรู้และประสบการณ์ชีวิตมากกว่าคนรุ่นหลังๆ ทำให้ชาวบ้านเชื่อฟังและยำเกรง

ขั้นตอนและรูปแบบการดำเนินการ
ประชากรในชุมชนร่วมกันวางแผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคํานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการโดยหาความรู้เพิ่มเติมต่อยอดจากความรู้ที่มี เข้าร่วมฝึกอบรมพัฒนาความรู้ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์สําหรับการประกอบอาชีพจากหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานภาคเอกชน เพื่อเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิตและนําความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้กับสมาชิกทุกคน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ได้มีผลิตผลจากการพัฒนาความรู้ต่างๆดังนี้
๑. กลุ่มจักสานเข่งจากไม้ไผ่ เป็นผลิตภัณฑ์เด่นและเป็นที่รู้จักทั่วไปของหมู่บ้าน เดิมเป็นอาชีพเสริมของหมู่บ้านและทำรายได้ให้กับครัวเรือนของบ้านบัวเป็นอย่างดีสามารถนําไปจําหน่ายได้หลายพื้นที่ในจังหวัดและต่างจังหวัดและ ปัจจุบันทํากันจนกลายเป็นรายได้หลักของครอบครัวปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียน จํานวน ๒๕๖,๘๓๐บาท

๒. กลุ่มเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมือง
กลุ่มเลี้ยงโคเป็นอีกกลุ่มอาชีพหนึ่งที่มีคณะกรรมการดําเนินงาน และสมาชิกจํานวน ๔๐ คน ปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้สมาชิกกู้เพื่อไปเลี้ยงโค จํานวน ๒๐ คน เป็นเงิน ๔๖๐,๐๐๐ บาท ซึ่งแต่ละเดือนก็มีการออมเงิน เดือนละ ๒๐ บาท รวมเงินในกลุ่มประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท

๓. กลุ่มหญ้าแพงโกล่า
กลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่า เป็นกลุ่มอาชีพอีกกลุ่มหนึ่งที่ทํารายได้ให้กับชุมชนในปีหนึ่งๆประมาณ๔๐,๐๐๐ -๕๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นหญ้าที่ใช้เลี้ยงโคขุนของบ้านบัวและ ยังออกจําหน่ายทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านอีกด้วย

๔. กลุ่มผักตบชวา
กลุ่มผักตบชวาเป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับกลุ่มสตรีบ้านบัว ซึ่งจะทําในช่วงที่ว่างจากการทํานา และมาทําอาชีพเสริมในการจักสานผักตบชวา ซึ่งปัจจุบันกลุ่มฯมีสมาชิกจํานวน ๔๐ คน ซึ่งจะมีการออมเงินในระยะยาว คือ ๕ ปี และมีเงินทุนหมุนเวียนภายในกลุ่มเป็นเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท โดยให้สมาชิกในกลุ่มกู้ยืมไปลงทุนในการประกอบอาชีพในอัตราร้อยละ ๑ บาท ต่อปี
๕.พลังงานทดแทนชีวมวล
นายเสาร์แก้ว ใจบาล ปราชญ์ชุมชนบ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา คิดค้นพลังงานทดแทน ด้วยการสร้างเตาแกลบชีวมวล ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและรักษาสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทนชีวมวลคือสารอินทรีย์ทั่วไปจากธรรมชาติที่จะสะสมพลังงานเก็บไว้ในตัวเองและสามารถนำพลังงานของมันที่เก็บสะสมเอาไว้มาใช้ประโยชน์ในตัวอย่างของสารอินทรีย์ตอนนั้น  เช่นเศษยาง  เศษไม้  เศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรหรือจากการอุตสาหกรรม  เช่น  ขี้เลื่อย  ฟาง  แกลบ  ชานอ้อย  เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้เตาแก๊สชีวมวลแกลบ
1.ลดการใช้แก๊ส lpg ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป
2 ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
3 ลดการจัดการวัสดุเหลือใช้จากโรงสีข้าว
4 แก้ปัญหาด้านหมอกควัน
5 ลดปัญหาการเกิดภาวะโลกร้อน 6 ส่งเสริมและเรียนรู้ภูมิปัญญาของชาวบ้าน
ส่วนประกอบของเตาแก๊สพลังงานชีวมวล
1 ตัวเตาทำจากยอดใยหินขนาดต่างๆตามความต้องการ
2 ท่อเหล็กกล่องเจาะรูจำนวน 3 ท่อนใช้ทำท่อนำอากาศเข้าเตา
 3 พัดลม dc 12 โวลท์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดประมาณ 2 นิ้ว
4 adapter ระบบ dc 12 โวลท์ใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟให้พัดลมชนิดแบบปรับแรงดันได้
5 ตะแกรงเหล็กสำหรับกรองเปรียบด้านล่างเตา 68 ที่ได้จากโรงสีข้าว


6.ข้าวอินทรีย์บ้านดอกบัว  เป็นข้าวอินทรีย์ที่มีคุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง  ปลอดจากสารเคมีและมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน  จนได้รับตราOrganic Rice Thailand ผู้บริโภคสามารถมั่นใจว่า  ได้รับประทานข้าวที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแท้จริง ประโยชน์ของข้าวอินทรีย์บ้านดอกบัวมีวิตามินอุดมสมบูรณ์ไปด้วยเกลือแร่ต่างๆ  มีส่วนช่วยในระบบการทำงานของส่วนต่างต่างของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ  เช่นวิตามินบี 1 วิตามินบี 2การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร.. การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปและชุดป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสดซึ่งช่วยยกระดับราคาผลิตผลไม่ให้ตกต่ำการเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารระดับอุตสาหกรรมที่สามารถรับวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารจำนวนมากได้   การผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารให้เป็นที่ยอมรับและสามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ต่างประเทศจะช่วยเพิ่มพูนรายได้ให้แก่พระเทพได้เป็นอย่างดี

7.เตาอิวาเตะ
มีการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดและรอบคอบที่สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนเตาอิวาเตะสร้างเมื่อ  ปี 2557 งบประมาณสนับสนุนจากปฏิรูปที่ดิน งบประมาณ 210,000 บาท  เป็นเตาเผาคาร์บอน  จาก ไม้ไผ่  หรือ ไม้ทุกชนิด   ข้อดีเป็นถ่านลักษณะเป็นธรรมชาติ เช่น นำสัปปะรสไปเผา ก็จะได้ออกมาเป็นถ่ายที่ยังเป็นรูปร่างของสัปปะรสเหมือนเดิมไม้ฟืนที่ใช้เผาถ่านอาจจะได้จากไม้ทั่ว ๆ ไป เช่น ยูคาลิปตัส  กระถินณรงค์  กระถินเทพา ฯลฯ โดยไม้ฟืนที่ใช้เผาถ่านนั้น  อาจจะเป็นปลายไม้ หรือเศษที่เหลือจากการตัดสาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมในโรงงานเยื่อกระดาษ  ราคารับซื้อนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับระยะทางในการขนส่งไม้ โดยทั่วไปปลายไม้จะมีราคาประมาณตันละ 400 – 500บาททั้งนี้วัตถุดิบ 1 ตัน  เมื่อผ่านขั้นตอนการผลิตจะได้ถ่านไม้ ประมาณ 250 กิโลกรัม หรือ 1 ใน 4

ขั้นตอนการผลิตถ่าน
กระบวนการผลิตถ่านด้วยเตาอิวาเตะตามรูปแบบของนายพุฒินันท์  พึ่งวงศ์ญาติ รองประธานชมรมสวนป่าผลิตภัณฑ์และพลังงานจากไม้   มีหลักวิธีการที่ได้ค้นควัาทดลองจนสามารถควบคุมขั้นตอนการผลิตให้ได้มาตรฐานทั้งคุณภาพและปริมาณที่ดี เมื่อเรียงท่อนฟืนภายในเตาเผาเรียบร้อย ขั้นตอนการผลิตถ่านจะเริ่มต้น  ดังนี้
1.ขั้นการไล่ความชื้นจากไม้ฟืน  (Dehydration)  โดยใช้อุณหภูมิ 20 – 270 องศาเซลเซียส
ขั้นตอนนี้จะใช้ความร้อนจากภายนอกเตา เพื่อให้ท่อนฟืนในเตาเกิดปฏิกิริยายาดูดความร้อนและคายความชื้นออกมา  โดยการก่อเชื้อเพลิง  ด้านหน้าเตา  เพื่อให้ลมร้อนไหลเข้าภายในเตาเผา  ระยะเวลาในขั้นนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นของไม้ฟืน  หากความชื้นมีอยู่มากก็ต้องใช้เชื้อเพลิงและเวลามากขึ้น  ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดเวลาควรจะนำไม้ฟืนผึ่งแดดประมาณ  3 – 4 สัปดาห์  เพื่อลดความชื้นลง
2.ขั้นเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่าน (Carbonization) โดยใช้อุณหภูมิ  270 – 400 องศาเซลเซียส
ระยะนี้ไม้ฟืนจะลุกไหม้และสลายตัวโดยความร้อนที่สะสมอยู่ตัวเองและจะมีควันสีขาวปนออกมาจากปล่อง ชาวบ้านเรียกควันระยะนี้ว่า ควันบ้าของเหลวที่กลั่นจากควันในระยะนี้ยังไม่มีคุณสมบัติในการใช้งานและจะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้คงที่เป็นเวลานาน  โดยการควบคุม อุณหภูมิสามารถทำได้โดยการควบคุมอากาศที่ช่องลมด้านหน้าเตาควบคุ่ไปกับการใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิ (Thermometer)  บริเวณกำแพงเตา
ช่วงที่อุณหภูมิภายในเตาอยู่ในช่วง 300 – 400 องศาเซลเซียสไม้จะสลายตัวกลายเป็นถ่านโดยสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ  400 องศาเซลเซียสขึ้นไป  ซึ่งขั้นตอนเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่านนี้ควันที่ออกมาจะประกอบด้วยสารต่าง ๆ ที่เกิดใหม่หลายชนิด และสามารถกลั่นเป็นของเหลว  ที่เรียกว่า  น้ำส้มควันไม้”  และนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายโดยจะกล่าวถึงต่อไป
        3..ขั้นการทำให้ถ่านบริสุทธิ์   (Refinement)
โดยทั่วไปกระบวนการเผาไม้ให้เป็นถ่านจะยุติลงที่อุณหภูมิเพียง  400 องศาเซลเซียสก็จะสามารถนำผลผลิตมาใช้งานได้  แต่เทคนิคการทำให้ถ่าน บริสุทธิ์นี้ยังคงต้องใช้อุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่า  400 องศาเซลเซียสเพื่อสลายน้ำมันดิน (Tar)ที่ยังคงเหลืออยู่ในปริมาณสูงออกจากถ่าน  ซึ่งจะเป็นผลดีเมื่อนำผลผลิตถ่านที่บริสุทธิ์นี้ไปใช้ในการปิ้งย่างอาหาร  เพราะน้ำมันดินที่ลดลงจะช่วยลดปริมาณสารก่อมะเร็ง เมื่อมีการประกอบอาหารนั่นเอง  นอกจากนี้ถ่านบริสุทธิ์ยังมีคุณสมบัติให้พลังงานความร้อนสูงกว่าถ่านทั่ว ๆ ไป และเป็นที่ต้องการของตลาด การควบคุมอุณหภูมิในขั้นนี้จะต้องดูแลอย่างละเอียดถี่ถ้วนในส่วนของเหลว (ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันดิน)ที่กลั่นได้จากขั้นตอนนี้  ไม่มีผลดีแต่อย่างได ให้ดักเก็บไว้เพื่อรอทำลายก่อนทิ้ง
4.การทำให้เย็น  (Cool)
ระยะเวลาการเผาถ่านด้วยเตาอิวาเตะขนาด  12  คิวบิกเมตรจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงเวลาประมาณ 10 วัน จึงจะสามารถเก็บผลผลิตถ่านเพื่อจำหน่ายหรือนำไปใช้งานได้  โดยหลังจากปิดปล่องเตาแล้ ต้องปล่อยให้อุณหภูมิในเตาลดต่ำกว่า  50 ?C  เพราะถ่านไม้ที่อุณหภูมิ  60–70 นั้นสามารถลุกติดไฟได้  หากได้รับออกซิเจนจากอากาศ  ดังนั้นต้องเริ่มเปิดเตาที่ปล่องควันเพื่อระบายความร้อนและก๊าซที่คงค้างอยู่ในเตาออกให้หมดเสียก่อนที่จะเปิดด้านหน้าเตาและนำผลผลิตออกจากถ่านไม้ทั่ว ๆ ไป ราคาขายที่หน้าเตา  อาจจะอยู่ที่ประมาณ  กิโลกรัมละ  3 – 4 บาท แต่หากเป็นถ่านบริสุทธิ์ที่ปลอดสารก่อมะเร็งและให้ค่าความร้อนสูง  (ราว 7,400 – 7,800 กิโลแคลอรี่/กก)  นั้นสามารถขายได้ราคาดีกว่า  เป็นที่ต้องการจากผู้บริโภค  โดยลักษณะที่สังเกตได้ว่าเป็นถ่านบริสุทธิ์  คือ  พิจารณาจากพื้นผิวบริเวณแก่นไม้  ที่มักจะพบรอยแตกเป็นรูปดอกไม้พร้อมกับมีความมันวาว  และหากใช้นิ้วสัมผัสจะมีฝุ่นถ่านสีดำติดมือมาน้อยมาก ค่าความร้อนที่สูงจะทำให้สังเกตได้ชัดเจน  เมื่อนำถ่านมาหุงต้ม  จะพบว่าอาหารนั้นสุกอย่างรวดเร็ว ข้อดีอีกอย่างจะได้น้ำส้มควนไม้ จากการเผา นำไปใช้ประโยชน์ฉีดไล่ พ่นแมลง  1 เตาเผา จะได้น้ำส้มควันไม้ จำนวน 700-800 ลิตร


หน่วยงานที่สนับสนุน
จากการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านดอกบัว หมู่ที่ 4 ต.บ้านตุ่น อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา ที่ประสบผลสำเร็จและได้รับรางวัลต่าง ๆ จนเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงระดับอำเภอ และระดับจังหวัดได้ทุกวันนี้ เพราะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทั้งในระดับอำเภอ และระดับจังหวัดที่ได้ให้ความสนับสนุนด้านวิชาการในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจนประสบผลสำเร็จตั้งแต่ก่อนเริ่มต้น จนบ้านดอกบัวได้รับรางวัลต่าง ๆ

ปัจจัยที่ทำให้เป็นชุมชนต้นแบบ
          ความร่วมมือในชุมชนที่ชัดเจนและมีความหลากหลาย และครบวงจร
ปัญหาและอุปสรรค
          ปัญหาในด้านการผลิตสินค้า เช่น ขาดเครื่องมือที่ทันสมัย  (การจักตอก) และข้าวอินทรีย์ ทำในพื้นที่จำกัดในช่วงฤดูกาล 
ความคาดหวังรางวัลเกียรติยศ
1.  ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 2 ประเภทชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
2. โครงการสร้างฝายเก็บน้ำตามโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ปี 2551 เป็นเงิน 500,000 บาท
3. โครงการปรับแผนชุมชน เป็นเงิน 10,000 บาท
4. ได้รับรางวัลตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข ประจำปี 2551 ระดับจังหวัดพะเยา โดยมีองค์ประกอบกิจกรรม ดังนี้
- หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับจังหวัดพะเยา
- หมู่บานเขียวขจี
- หมู่บ้านค่านิยม 6 ประการ
- ผู้นำสตรีดีเด่น
- ผู้นำวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง
- หมู่บ้านพึ่งตนเองระดับอำเภอ
- หมู่บ้านพึ่งตนเองระดับจังหวัด
- หมู่บ้านผลิตภัณฑ์ OTOP ดีเด่น
- หมู่บ้านกลุ่มอาชีพดีเด่น
6. ได้รับรางวัลหมู่บ้านพึ่งตนเองระดับอำเภอเมืองพะเยา ปี 2551
6. ได้รับรางวัลหมู่บ้านพึ่งตนเองระดับจังหวัดพะเยา ปี 2551
7. โครงการสนับสนุนหมู่บ้านพึ่งตนเองระดับอำเภอ จำนวน 50,000 บาท
8. โครงการสนับสนุนหมู่บ้านพึ่งตนเองระดับจังหวัด เป็นเงิน 100,000 บาท
9. โครงการสนับสนุนหมู่บ้านเขียวขจี จากมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ เป็นเงิน 10,000 บาท
10. ได้รับรางวัลหมู่บ้านมั่งมีศรีสุขระดับอำเภอเมืองพะเยา ปี 2552
11. ได้รับรางวัลหมู่บ้านมั่งมีศรีสุขระดับจังหวัดพะเยา ปี 2552
12. นายบาล บุญก้ำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ได้รับรางวัลคนดีศรีพะเยา ปี 2551
13. นายบาล บุญก้ำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ได้รับรางวัลผู้ใหญ่บ้านดีเด่นระดับจังหวัดพะเยา ปี 2552
14. เป็นศูนย์เรียนรู้ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอและจังหวัด
15. เป็นสถานที่ดูงานของบุคคลทั่วไป
รางวัลชนะเลิศถ้วยรางวัลพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ  รางวัลเกียรติยศ  ถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ จากการประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่  2
ชุมชนได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแล้ว ส่งผลให้ชุมชนได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานราชการ ทั้งได้รับเป็นเงินรางวัลและโล่เกียรติยศ หลายรางวัล เป็นหมู่บ้านที่ผ่าน ระบบ มชช. ปี 2551 โดยมีนายบาล บุญก้ำ เป็นผู้ใหญ่บ้าน และมีผลงานเด่น คือ บ้านดอกบัว เป็นหมู่บ้านที่ชนะเลิศตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข และชนะเลิศหมู่บ้านพึ่งตนเอง ระดับจังหวัดพะเยา ในปี 2551 และผู้ใหญ่บ้านได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านดีเด่น ประจำปี 2551 อีกทั้งกลุ่มจักสานเข่ง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ประเภทกลุ่มอาชีพดีเด่น ตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็นเป็นสุข ประจำปี 2551 ในปี 2552 บ้านบัว(บ้านดอกบัว) เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบ ระดับ มั่งมี ศรีสุขตัวอย่างจังหวัดพะเยา
 ความต้องการที่อยากให้สนับสนุนทั้ง หน่วยงานใด รูปแบบใด
ทางชุมชนอยากจะได้หน่วยงานที่จะมาสนับสนุนเรื่องข้าวอินทรีย์ ในด้านวิชาการ ซึ่งชุมชนยังไม่มีการขยายในส่วนนี้ และการสนับสนุนเครื่องมือสำหรับการผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องมือในการจักตอก สำหรับสานสุ่มไก่ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น