ชุมชนนี้ในอดีตบ้านป่าตาลเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการปั้นหม้อน้ำ คนโทและอิฐมอญ แต่เมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนางานปั้นมาเป็นการปั้นตุ๊กตาที่ยังคงเป็นการปั้นด้วยมือ รูปแบบงานปั้นตุ๊กตาของที่นี่จะมีทั้งตุ๊กตาที่เป็นรูปคนและสัตว์ต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่มีรอยยิ้มบนใบหน้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านป่าตาล ช่างแต่ละคนจะมีการสร้างสรรค์งานปั้นตุ๊กตาที่แม้จะเป็นรูปสัตว์เดียวกันแต่ก็จะมีลักษณะเฉพาะตัวและมีรอยยิ้มที่เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของช่างแต่ละคน นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับศิลปะการสร้างสรรค์รอยยิ้มจากดินที่ด้วยตนเอง และมีสินค้าจำหน่ายบริการผู้สนใจโดยราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป กลุ่มประติมากรรมดินเผาบ้านป่าตาล นักท่องเที่ยวชาวไทย โทร.086-421-0899 Email: tanapon695@gmail.com
สำนักพัฒนาธุรกิจและโครงการพิเศษ
บ้านถวาย หมู่บ้านหัตถกรรมไม้แกะสลัก
บ้านถวาย หมู่บ้านหัตถกรรมไม้แกะสลัก ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นทีรู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นแหล่งกำเนิดของงานแกะสลักไม้ในจังหวัดเชียงใหม่ จนผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งด้านคุณค่า และคุณภาพของสินค้า จุดรวมความหลากหลายของงานหัตถศิลป์ที่โดดเด่น เช่น งานแกะสลักไม้, งานเดินเส้น-แต่งลาย, งานลงรัก-ปิดทอง, แอนติค,เครื่องเงิน, เครื่องเขิน, ผ้าทอ, เครื่องจักรสาน และเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
เทศกาลสงกรานต์ 2560 จังหวัดเชียงใหม่
จัดหนักจัดเต็มกับสถานที่จัดงานเทศกาลสงกรานต์ 2560 ในจังหวัดเชียงใหม่ รับรองว่าเต็มไปด้วยความสุขและความสนุกอย่างแน่นอน ถือเป็นช่วงหยุดพักผ่อนของใครหลาย ๆ คน เพราะมีวันหยุดยาวต่อเนื่องกันหลายวัน (มาก) บางครอบครัวก็วางแผนไปเที่ยวสงกรานต์ต่างจังหวัด หนีร้อนไปหาที่เย็น ๆ คูล ๆ อยู่อย่างสบาย ๆ บางคนก็กลับต่างจังหวัดไป
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เป็นหน่วยงานของรัฐบาล ที่ดำเนินงานโดยการกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) มีที่ตั้งในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง และตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ นับรวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 819 ไร่ และห่างจากใจกลางเมืองเชียงใหม่เพียง ประมาณ 10 กิโลเมตร เท่านั้น
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเมื่อแรกเริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 มุ่งเน้นการให้บริการในตอนเย็นจนถึงกลางคืน และจัดเป็นสวนสัตว์กลางคืนแห่งแรกในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งวัน
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเมื่อแรกเริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 มุ่งเน้นการให้บริการในตอนเย็นจนถึงกลางคืน และจัดเป็นสวนสัตว์กลางคืนแห่งแรกในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งวัน
บ้านผาหมอน
บ้านผาหมอน
เป็นหมู่บ้านขนาดกลางตั้งอยู่กลางหุบเขาล้อมรอบ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากบ้านแม่กลางหลวง
ดอยอินทนนท์ สิ่งที่โดดเด่นของบ้านผาหมอน
คือ บ้านพักแบบส่วนตัว รีสอร์ทชุมชน (Bamboo Pink House) เป็นบ้านที่อยู่บนสันดอยมองเห็นทิวทัศน์สวยงามตกแต่งได้อย่างลงตัว
ติดนาขั้นบันได ที่สวยงามและธรรมชาติที่แสนสงบและงดงาม รวมถึง
แปลงดอกไม้เมืองหนาวที่ปลูกอยู่ท่ามกลางนาข้าว
หากต้องการมาชมนาข้าวขั้นบันได บ้านผาหมอนช่วงสีเขียว
ควรเดินทางมาช่วงกลางเดือนกันยายน – กลาง ตุลาคม
โครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง (บ้านหัวฝาย)
โครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง
(บ้านหัวฝาย)
อบต.สันกลาง อ.พาน จ.เชียงราย
องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง อ.พาน
จ.เชียงราย มีทั้งหมดจำนวน 18 หมู่บ้าน
โดยมีหนึ่งในนี้จัดได้ว่าเป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง
และเป็นหนึ่งในหมู่บ้านต้นแบบของจังหวัดเชียงราย คือ บ้านหัวฝาย
ที่ได้ก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้น และสร้างอาชีพ ร้างรายได้ให้ทุกครัวเรือน
จนได้รับรางวัลธรรมาภิบาลส่งเสริมอาชีพ พ.ศ.2557
และยังเป็นการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
ชุมชนบ้านดอกบัว : อุทยานแห่งความพอเพียง
ชุมชนบ้านดอกบัว
: อุทยานแห่งความพอเพียง
รางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ประเภท
ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ชนะเลิศระดับประเทศ
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านบัว (ดอกบัว) หมู่ที่ ๔
ตําบลบ้านตุ่น อําเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เดิมแรก บ้านดอกบัว เป็นป่า โดยมีปู่ติ๊บ
กับย่าสมนา สองผัวเมีย และมีบ้านปู่อีกคนไม่ทราบชื่อ โดยเริ่มแรกมีบ้านอยู่ ๒
หลังเท่านั้นปู่ติ๊บ กับ ย่าสมมา เดิมเปนคนบ้านตุ่นกลาง ประกอบอาชีพทําไร่ทําสวน
เลี้ยงสัตว์ เห็นพื้นที่ป่า แหล่งน้ำมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการประกอบอาชีพ จึงย้ายเข้ามาอยู่เป็นคนแรก
โดยมีปู่บัว ติดตามมาอยู่ด้วย จนตอนเช้าของวันหนึ่ง ปู่บัว เปนคนเคี้ยวหมาก
ได้ลงไปเก็บใบพลูมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดมาก่อน คือ เสือได้ตระครุบและ กัดปู่บัวตาย ณ
ที่นั้น ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า บ้านบัว(ดอกบัว) มาจนทุกวันนี้ปัจจุบันบ้านบัว (ดอกบัว)
มีประชากร ๗๖๓ คน จํานวน ๒๑๕ ครัวเรือน แยกเป็นชาย ๓๗๙ คน หญิง๓๘๔ คน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)